ขายต้นจามจุรี ต้นก้มปู ต้นฉำฉา 6 นิ้ว สูง 5.5 เมตร
ต้นจามจุรี
ต้นจามจุรี
ขายต้นจามจุรี ต้นก้มปู ต้นฉำฉา 6 นิ้ว สูง 5.5 เมตร
สนใจติดต่อ
เรามาต้นไม้หลายชนิดและขนาดครับสนใจยังไงโทรถามได้เลย
ไม่สะดวกมาดูยังไงเรายินดีส่งรูปต้นไม้ปัจจุบันให้ท่านครับ
ราคาต้นไม้ไม่รวมค่าปลูกและค่าส่งนะครับ ต้นไม้อยู่สระบุรีแวะมาดูได้
ติดต่อมาถามค่าส่งและค่าปลูกยังไงได้ครับ
ติดต่อ วุฒิศักดิ์
0877576323
0903909013
ติดต่อทาง Line ID : wutjpy
Email : wutjpy@gmail.com
Facebook : https://www.facebook.com/sirasak.kormpar
Facebook Page : คลิ๊กที่นี้เพื่อเข้าเพจ เฟสบุคของเรา
ชื่อพื้นเมือง :ก้ามกราม, ก้ามกุ้ง, ก้ามปู, จามจุรี, (ภาคกลาง) ฉำฉา, ลัง,สารสา, สำสา (ภาคเหนือ), ตุ๊ดตู่ (ตาก)
จามจุรี เป็นพันธุ์ไม้ที่รู้จักกันทั่วไป อาจพบเห็นได้ตามริมถนน วัด หรือสถานที่ราชการต่างๆ เข้าใจว่ามิสเตอร์ เอช เสลด (Mr. H. Slade.) อธิบดีกรมป่าไม้คนแรกได้นำพันธุ์จากประเทศพม่ามาปลูกเป็นครั้งแรกที่ทำการป่าไม้เขตเชียงใหม่ ประมาณปี พ.ศ. 2443 ต่อ มาจึงได้นำไปปลูกตามถนนกรุงเทพฯ และจังหวัดอื่นๆ อย่างแพร่หลายเนื่องจากเป็นไม้โตเร็วเรือนยอดแผ่กว้างให้ร่มเงาเป็นอย่างดี ทางภาคเหนือนิยมปลูกเลี้ยงครั่ง อาจกล่าวได้ว่าวัตถุประสงค์ของการนำเข้าไม้จามจุรีเข้ามาในประเทศตั้งแต่ เดิมนั้นมาในลักษณะไม้ประดับ และให้ร่มตลอดจนปลูกเพื่อใช้เลี้ยงครั่งเท่านั้น ผู้ปลูกมิได้มุ่งหวังที่จะใช้เนื้อไม้ชนิดนี้ไปเป็นประโยชน์ในด้านการค้าเลย ทั้งนี้เนื่องจากไม้จามจุรีเป็นไม้ไม่สู้แข็ง ผุง่าย จึงไม่มีผู้นิยมใช้ในการก่อสร้าง เพราะในขณะนั้นประเทศไทย ยังมีไม้ที่มีคุณภาพดีกว่าอยู่มากมายทั้งที่ความจริงตลาดต่างประเทศต้องการ เนื้อไม้จามจุรีนานแล้ว เช่น ฮ่องกง ซึ่งสั่งซื้อโดยตรงจากประเทศฟิลิปปินส์ ครั้นเมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ต้นจามจุรีใน ฟิลิปปินส์จะมีเสก็ดระเบิดของกระสุนลูกปืนอยู่ตามลำต้นไม้เป็นจำนวนมาก ประเทศผู้รับซื้อจึงหันมาซื้อจากไทยซึ่งเป็นเวลาเดียวกับที่ราคาครั่งใน เมืองไทยประสบภาวะปัญหาราคา ต่ำลง ดังนั้นเมื่อเนื้อไม้สามารถขายได้ราคาดีกว่าประกอบกับความต้องการที่จะ เปลี่ยนชนิดพืชเศรษฐกิจไปเป็นพืชอื่น ชาวสวนครั่งทางภาคเหนือของไทยจึงตัดฟันไม้จามจุรีลงเพื่อขายเนื้อไม้ในราคา ไม้ท่อน ซึ่งราคาดีกว่า จึงพบว่าพื้นที่สวนจามจุรีเพื่อการเลี้ยงครั้งทางภาคเหนือได้ลดลงมาก จนเหลือเพียงเล็กน้อยในปัจจุบันทั้งที่ความต้องการใช้เนื้อไม้จามจุรีเพื่อ การแกะสลักในประเทศไทยได้เพิ่มสูงขึ้นเป็นลำดับ สาเหตุหนึ่งเนื่องจากการขาดแคลนไม้สักในการแกะสลัก และไม้สักมีราคาแพง ผู้ผลิตจึงหันมาใช้ไม้จามจุรีซึ่งสามารถหาได้ในชนบท และราคาถูกกว่าไม้สักมาก เนื้อไม้ยังมีสีสวยเหมาะในการทดแทนไม้สักในอุตสาหกรรมไม้แกะสลัก
จากรายงาน ทางวิชาการและรายงานศึกษาผลวิจัยเกี่ยวกับไม้จามจุรีทำให้ทราบว่าไม้จามจุรี นั้นสามารถใช้ประโยชน์ได้หลายด้านทั้งเป็นเนื้อไม้ เป็นพืชอาหารสัตว์และปรับปรุงสภาพดินให้ดีขึ้น เป็นต้น ซึ่งนอกเหนือจากใช้ประโยชน์ตรงการเลี้ยงครั่ง แต่การปลูกสร้างสวนป่าไม้จามจุรีในประเทศไทยเพื่อใช้ประโยชน์จากเนื้อไม้โดย ตรงยังไม่มี มีเพียงเพื่อการเลี้ยงครั่งดังกล่าว แต่ก็มีเพียงน้อยนิดเมื่อเทียบกับสวนป่าไม้อื่นๆ ดังนั้นกรมป่าไม้จึงได้มีนโยบาย ส่งเสริมให้ ประชาชนปลูกไม้จามจุรี ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้มีการใช้ประโยชน์จากไม้อเนกประสงค์ชนิดนี้ ต่อไป
ลักษณะทั่วไป
จามจุรีเป็นพืชตระกูลถั่ว (Family Leguminosae) อนุวงศ์สะตอ (Sub-Family Mimosaceae) มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Samanea saman Jacq Merr. ส่วน ชื่อที่เป็นที่รู้จักในประเทศไทยได้แก่ จามจุรี ก้ามกลาม จามจุรีแดง ก้ามปู ก้ามกุ้ง (ไทย) ฉำฉา สารสา สำลา ตุ๊ดตู่ ลัง (พายัพ) ในภาษาอังกฤษชื่อที่เรียกกันแพร่หลาย คือ Rain tree ซึ่ง น่าจะมาจากนิสัยของต้นไม้ชนิดนี้โตเร็วผิดกับต้นไม้อื่นๆ คือ เมื่อฤดูฝนผ่านไปครั้งหนึ่งต้นไม้ชนิดนี้โตเร็วผิดกับต้นไม้อื่นๆ คือ เมื่อฤดูฝนผ่านไปครั้งหนึ่งต้นไม้นี้จะโตขึ้นอย่างสังเกตเห็นได้ชัด จามจุรีเป็นไม้ผลัดใบโตเร็วต่างประเทศ เรือนยอดแผ่กว้างคล้ายรูปร่มเรือนยอดสูงประมาณ 40 ฟุต สูง 20 – 30 เมตร เปลือกสีดำ แตกและร่อนลักษณะเนื้อไม้มีลวดลายสวยงาม แก่นสีดำ แตกและร่อนลักษณะเนื้อไม้มีลวดลายสวยงาม แก่นสีดำคล้ำคล้ายมะม่วงป่าหรือวอลนัท เมื่อนำมาตกแต่งจะขึ้นเงาเป็นมันแวววาวนับเป็นพรรณไม้ที่มีลักษณะสวยงามตาม ธรรมชาติ กำลังของไม้มีความแข็งแรงเท่าเทียมไม้สมพง แต่มีลักษณะพิเศษคือมีกำลังดัดงอ (bending strenght) สูงมาก และความชื้นในเนื้อไม้สูงทั้งต้นของจามจุรีมีสารพวกแอลคาลอยด์ (alkaloid) ชื่อพิธทิโคโลไบ (piththecolobine) ที่มีพิษใช้เป็นยาสลบ
ใบ เป็นใบผสมแบบขนนกสองชั้นทั้งใบยาวประมาณ 25 – 40 เซนติเมตร ใบประกอบด้วยช่อใบ 4 คู่ ใบย่อย 2 – 10 คู่ ต่อหนึ่งใบ ใบย่อยเกิดบนก้านใบซึ่งแยกจากก้านใหญ่ ใบย่อยรูปขนานเปียกปูนแต่เบี้ยว ใบย่อยด้านปลายใบใหญ่ที่สุดใบย่อยหนาปานกลาง ด้านหน้าใบสีเขียวเข้มเป็นมัน ด้านหลังใบสีเขียวนวล และมีขนเล็กน้อย